วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Search engine

Search engine
Search engine คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. Search engine ส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน Search engineบางตัว เช่น Google จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)
1. Google 36.9%
2. Yahoo! Search 30.4%
3. MSN Search 15.7%
นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่
- AOL Search
- Ask
- A9
- Baidu Search engine อันดับ 1 ของประเทศจีน
- Yandex Search engine อันดับ 1 ของรัสเซีย
ประเภทของเครื่องมือค้นหา
Catalog based search engine เป็นโปรแกรมสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่ง โดยโปรแกรมจะรวบรวม และแยกจัดเก็บเว็บไว้ในฐานข้อมูลตามประเภทหัวข้อของเว็บ เมื่อผู้ใช้มาค้นหา ก็จะสามารถเข้าไปดูตามหัวข้อต่าง ๆ แล้วดูหัวข้อย่อย ๆ เข้าไปอีกจนกว่าจะเจอหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการ ตัวอย่าง catalog based search engine คือ Yahoo เป็นต้น ซึ่งจะต่างกับ query based search engine ที่จะต้องพิมพ์คำค้นหาเพื่อตรวจสอบกับฐานข้อมูลว่ามีข้อมูลนี้หรือไม่ ถ้ามีก็จะแสดงรายชื่อออกมา
หลักการทำงานของ Search engine
1.       การตรวจค้นหาข้อมูลในเว็บเพจต่างๆ
2.       ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทำการตรวจค้นไว้ในฐานข้อมูล
3.       การแสดงผลการค้นหาข้อมูล


ประโยชน์ที่ได้รับจาก Search Engine
1.       ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
2.       สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
3.       สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับ
ข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
4.       มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
5.       รองรับการค้นหา ภาษาไทย
6.        นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาในรูปแบบของ Search Bar ที่ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเข้าผ่าน
เว็บไซต์ Search Engine เหล่านั้นโดยตรงแล้ว ตัวอย่าง Search Bar  เช่น Google Search Bar, Yahoo Search Bar เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ Search Engineในงานด้านต่างๆ
                การประยุกต์ใช้ Search Engine ในงานด้านต่างๆแล้วนั้นถือได้ว่าเป็นการประยุกต์ใช้โดยทางอ้อมเสียเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือ Search Engine สามารถช่วยได้ในระดับข้างต้นของการทำงานต่างๆ คือ การค้นหาข้อมูลที่มีประโยชน์และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างถูกต้องโดยจะต้องอาศัยปัจจัย เช่น การทราบถึงวิธีการใช้ทั้งตัว Search Engine ที่ให้บริการเองเอง รวมถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ด้วยเพื่อจะนำมาซึ่ง ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการใช้งาน, หรือแม้แต่การศึกษาหาความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจใดใด นั้นเอง
เทคนิคการสืบค้นขั้นสูง (Advanced Search)
เป็นการสร้างประโยคคำค้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แต่ทำให้เราได้ข้อมูลที่รงกับความต้องการมากขึ้น ซึ่งเทคนิคการสืบค้นขึ้นสูงนี้ มีหลายชนิด ได้แก่
การสืบค้นโดยใช้เทคนิคตรรกบูลีน (Boolean Logic)
เป็นเทคนิคในการสืบค้นสำหรับการปรับแต่งการสืบค้น โดยอาศัยตัวกระทำ 3 ตัว คือ and , or , not ดังนี้
AND ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อจำกัดขอบเขตการค้นให้แคบลง โดยการใช้ AND จะใช้ในกรณีที่ต้องการให้ปรากฏคำหลัก A และ B ในหน้าเว็บเพจเดียวกัน หมายถึง การค้นหาคำหลักที่มีทั้ง A และ B
OR ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อขยายของเขตการค้นให้กว้างขึ้น โดยการใช้ OR จะใช้ในกรณีที่ต่อเมื่อ ต้องการค้นหาคำหลัก A หรือ B โดยผลลัพธ์จากการค้นหาจะต้องปรากฏคำหลัก A หรือ B อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ทั้งสองคำ
NOT ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อจำกัดขอบเขตการค้นให้แคบลง โดยใช้ NOT ในกรณีที่ก็ต่อเมื่อ ต้องการค้นหา A แต่ไม่ต้องการให้ปรากฏ B อยู่ในหน้าเว็บเพจ


เทคนิคการตัดคำ (Truncation)
เป็นเทคนิคที่ช่วยในการสืบค้นให้ได้ข้อมูลที่กว้างขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น โดยการละข้อความบางส่วนของคำ และใช้สัญลักษณ์แทนอาจเป็นสัญลักษณ์ # หรือ ? หรือ $ หรือ *
การใช้เทคนิคการตัดคำนี้เนื่องจากการเขียนคำศัพท์ที่แตกต่างกัน เช่น รูปเอกพจน์ รูปพหูพจน์ หรือรูปแบบการเขียนแบบภาษาอังกฤษ หรืออเมริกัน เป็นต้น ซึ่งเราสามารถตัดคำได้ทั้งการตัดท้ายคำ หรือตัดหน้าคำก็ได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อพิมพ์คำค้นว่า Colo# ระบบจะทำการสืบค้นให้ทั้งคำที่เขียนว่า color และ colour หรือพิมพ์คำว่า Librar# ระบบจะทำการสืบค้นให้ทั้งคำว่า Library , Libraries และ Librarian เป็นต้น

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้อดีและข้อเสียของ blog และblog ที่รู้จัก

ข้อดี
1.              ได้พื้นที่ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
2.             ใช้เป็นศูนย์รวมการให้ความรู้ การศึกษาวิชาการ วิชาชีพ ศิลปะ  ของครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป
3.             สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
4.       เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกได้แสดงออกถึงความสามารถ ความคิดเห็นได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน
5.       เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ให้บุคคลอื่นเข้ามาค้นคว้า ศึกษาได้ในปัจจุบันและอนาคต
6.       ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือ สิ่งเก่าๆ ที่ยังไม่รู้ ให้รู้มากขึ้น จากการนำมาแลกเปลี่ยนกันและกัน
ข้อเสีย
1.             เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยถึงน้อยมาก
2.             การที่มีบล็อก และเรื่องใหม่ๆมากมายในแต่ละวัน การนำเสนอเรื่องเดิมซ้ำๆกันอาจเกิดขึ้นได้
3.             เปิดโอกาสให้พวกป่วนเข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน
4.             บล็อกมีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจมีเรื่องที่ไม่เหมาะสม เรื่องที่หมิ่นเหม่ หรือ เข้าข่ายผิดกฎหมาย ผิดประเพณีและศีลธรรมอันดีได้ จึงต้องมีกติกาให้ตัวเอง

ผู้ให้บริการบล็อกที่เป็นที่รู้จัก
2.           ไทป์แพด
3.           เวิร์ดเพรสส์
4.           ยาฮู! 360° หรือ ยาฮู!เดย์ (ยาฮู!)
6.           มายสเปซ
7.           มัลติไพล
8.           Blognone
9.           เอ็กซ์ทีน
10.  GotoKnow
11.  Bloggoo
12.  learners.in.th