ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดี ไม่เลว การกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ประกอบด้วย
1.1 ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Classical Connectionism) ธอร์นไดค์ (ค.ศ.1814 - 1949) เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
กฎของธอร์นไดค์ สรุปได้ ดังนี้
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise
3. กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse)
4. กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect)
1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ ของพาฟลอฟ พาฟลอฟได้ทำการทดลองให้สุนัขน้ำลายไหลด้วยเสียงกระดิ่ง การทดลองของพาฟลอฟ สรุปได้ ดังนี้
1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไข ที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าจะลดลงเรื่อย ๆ และหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติและจะกลับปรากฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันและจะตอบสนองเหมือน ๆ กัน
6. บุคคลมีแนวโน้มทีจะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง
7. กฎแห่งการลดภาวะ (Law of Extinction)
8. กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ (Law of Spontaneous Recovery)
9. กฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่น (Law of Generalization)
10. กฎแห่งการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination)
1.2.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน(Watson)
1. พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
2. เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
1.2.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง (Contiguous Condition-ing) ของกัทธรี
1. กฎแห่งความต่อเนื่อง(Law of Contiguity)
2. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว (One trial learning)
3. กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย (Low of Recency )
4. หลักการจูงใจ (Motivation) การเรียนรู้เกิดจาการจูงใจมากกว่าการเสริมแรง
1.2.3 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ (Operant Condition-ing) ของสกินเนอร์
1. การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลง
2. การเสริมแรงที่แปรเลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแงที่ตายตัว
3. การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
4. การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่ออินทรีย์กระทำพฤติกรรมที่ต้องการ สมารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้
1.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
1. กฎแห่งสมรรถภาพในการตอบสนอง (Law of Reactive In Hibition)
2. กฎแห่งการลำดับกลุ่มนิสัย (Law of Habit Hierachy)
3. กฎแห่งการใกล้บรรลุเป้าหมาย (Goal Gradient Hypothesis)
(อ้างถึง : http://www.sobkroo.com/detail_room_main3.php?nid=3019)
นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี – ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ ”พฤติกรรม” มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน คือ
- ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism) ของธอร์นไดค์ (Thorndike) มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว และจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียน แบบลองผิดลองถูกบ้าง มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบท เรียน เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้ นั้นไปใช้บ่อยๆ การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่ง สำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory) ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี ดังนี้
1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)
เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning)
เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกันสรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไป อย่างสม่ำเสมอ
3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s ContiguousConditioning)
เน้นหลักการจูงใจ สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก
4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning)
เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้
- ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์(Hull’s Systematic Behavior Theory) มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลา ใกล้บรรลุเป้าหมาย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถ ของผู้เรียน
Hergenhahn and Olson (1993: 56 – 57 อ้างถึงในทิศนา แขมมณี 2550 : 45 – 48) ได้กล่าวว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่เลว (neutral - passive) การกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus - response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดได้และทดสอบได้ ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิด สำคัญ ๆ 3 แนวด้วยกันคือ
1.1 ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Classical Connectionism)
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
ธอร์นไดค์ (ค.ศ.1814 - 1949) เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลองผิดลองถูก (trial and error) ปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียวและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ
กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์สรุปได้ดังนี้
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อย ๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวรและในที่สุดอาจลืมได้
3. กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ความมั่นคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้น หากได้มีการนำไปใช้บ่อย ๆ หากไม่มีการนำไปใช้อาจมีการลืมเกิดขึ้นได้
4. กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้นการได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง (เมื่อพิจารณาแล้วว่าไม่ถึงกับเสียเวลามากเกินไปและไม่เป็นอันตราย) จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในวิธีการแก้ปัญหา จดจำการเรียนรู้ได้ดีละเกิดความภาคภูมิใจในการกระทำสิ่ง ต่าง ๆ ด้วยตนเอง
2. การสำรวจความพร้อมหรือการสร้างความพร้อมของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน เช่น การสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียน การเชื่อมโยงความรู้เดิมมาสู่ความรู้ใหม่ การสำรวจความรู้ใหม่ การสำรวจความรู้พื้นฐานเพื่อดูว่าผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนบทเรียนต่อไปหรือไม่
3. หากต้องการให้ผู้เรียนมีทักษะในเรื่องใดจะต้องช่วยให้เขาเกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นอย่างแท้จริง แล้วให้ฝึกฝนโดยกระทำสิ่งนั้นบ่อย ๆ แต่ควรระวังอย่าให้ถึงกับซ้ำซาก จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย
4. เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วควรให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อย ๆ
5. การให้ผู้เรียนได้รับผลที่ตนพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ (Classical Conditioning ) ของพาฟลอฟ
พาฟลอฟ (Pavlov) ได้ทำการทดลองให้สุนัขน้ำลายไหลด้วยเสียงกระดิ่ง โดยธรรมชาติแล้วสุนัขจะไม่มีน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง แต่พาฟลอฟได้นำเอาผงเนื้อบดมาเป็นสิ่งเร้าคู่กับเสียงกระดิ่ง ผงเนื้อบดถือว่าเป็นสิ่งเร้าตามธรรมชาติ (unconditioned stimulus) ทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้ เขาใช้สิ่งเร้าทั้งสองคู่กันหลาย ๆ ครั้ง แล้วตัดสิ่งเร้าตามธรรมชาติออกเหลือแต่เสียงกระดิ่ง ซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข ปรากฏว่าสุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งอย่างเดียว สรุปได้ว่าการเรียนรู้ของสุนัขเกิดจากการรู้จักเชื่อมโยงระหว่างเสียงกระดิ่ง ผงเนื้อบดและพฤติกรรมน้ำลายไหล
พาฟลอฟจึงสรุปว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (conditioned stimulus)
การทดลองของพาฟลอฟ สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไข ที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ (สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้รับผงเนื้อ)
2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ (สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง)
3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อย ๆ และหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ (เมื่อสั่นกระดิ่งโดยไม่ให้ผงเนื้อติด ๆ กันหลายครั้งสุนัขจะหยุดน้ำลายไหล)
4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติและจะกลับปรากฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ (เมื่อผ่านไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง สั่นกระดิ่งใหม่โดยไม่ให้ผงเนื้อเช่นเดิม สุนัขจะน้ำลายไหลอีก)
5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันและจะตอบสนองเหมือน ๆ กัน (เมื่อสุนัขเรียนรู้โดยมีเสียงกระดิ่งเป็นเงื่อนไขแล้ว ถ้าใช้เสียงนกหวีดหรือระฆังที่คล้ายเสียงกระดิ่งแทนเสียงกระดิ่ง สุนัขก็จะมีน้ำลายไหลได้)
6. บุคคลมีแนวโน้มทีจะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง (เมื่อใช้เสียงกระดิ่ง เสียงฉิ่ง เสียงประทัด หรือเสียงอื่นเป็นสิ่งเร้า แต่ให้อาหารสุนัขพร้อมกับเสียงกระดิ่งเท่านั้น สุนัขจะน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง ส่วนเสียงอื่น ๆ จะไม่ทำให้สุนัขน้ำลายไหล)
7. กฎแห่งการลดภาวะ (Law of Extinction) พาฟลอฟ กล่าวว่า ความเข้มของการตอบสนองจะลดลงเรื่อย ๆ หากบุคคลได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างเดียว หรือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างกันออกไปมากขึ้น
8. กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ (Law of Spontaneous Recovery) กล่าวคือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขลดลง สามารถเกิดขึ้นได้อีก โดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขมาเข้าคู่
9. กฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่น (Law of Generalization) กล่าวคือ เมื่อเกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขแล้ว หากมีสิ่งเร้าที่คล้าย ๆ กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขมากระตุ้น อาจทำให้เกิดการตอบสนองที่เหมือนกันได้
10. กฎแห่งการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination) กล่าวคือ หากมีการใช้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหลายแบบ แต่มีการใช้สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นก็สามารถช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยสามารถแยกความแตกต่างและเลือกตอบสนองเฉพาะสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเท่านั้นได้
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. การนำความต้องการทางธรรมชาติของครูผู้สอนมาใช้เป็นสิ่งเร้า สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กชอบเล่นตุ๊กตาสัตว์ ครูควรสอนให้เด็กอ่านและเขียนชื่อสัตว์ต่าง ๆ โดยให้ตุ๊กตาสัตว์เป็นรางวัล
2. การสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องใด อาจใช้วิธีเสนอสิ่งที่จะสอนไปพร้อม ๆ กัน กับสิ่งเร้าที่ผู้เรียนชอบตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ครูรู้ว่าเด็กชอบฟังนิทาน ครูจึงให้เด็กเขียนคำศัพท์ที่ใช้ในนิทานไปพร้อม ๆ กันกับการเล่านิทาน
3. การนำเรื่องที่เคยสอนไปแล้วมาสอนใหม่ สามารถช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามที่ต้องการได้
4. การจัดกิจกรรมการเรียนให้ต่อเนื่องและมีลักษณะคล้ายคลึงกัน สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เพราะมีการถ่ายโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่
5. การเสนอสิ่งเร้าให้ชัดเจนในการสอน จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และตอบสนองได้ชัดเจนขึ้น
6. หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมใด ควรมีการใช้สิ่งเร้าหลายแบบ แต่ต้องมีสิ่งเร้าที่มีการตอบสนองโดยไม่มีเงื่อนไขควบคู่อยู่ด้วย เช่น ถ้าครูต้องการให้ผู้เรียนเข้าห้องเรียนตรงเวลาและครูรู้ว่าผู้เรียนต้องการรู้คะแนนสอบของตน ครูอาจตั้งเงื่อนไขว่าจะมีการบอกคะแนนสอบก่อนเรียนหรือจะมีการสอบย่อยเรื่องที่เรียนไปแล้วในตอนต้นชั่วโมงทุกครั้ง ผู้เรียนจะตอบสนองโดยเข้าเรียนตรงเวลา แต่เงื่อนไขนี้ครูต้องทำอย่างสม่ำเสมอและมีเหตุผล ถ้าไม่ทำสม่ำเสมอ อาจเกิดการลดภาวะได้คือ พฤติกรรมการเข้าเรียนตรงเวลาอาจลดลง อย่างไรก็ตาม ตามกฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ พฤติกรรมการการเข้าเรียนตรงเวลาอาจลดลง สามารถเกิดขึ้นได้อีก นอกจากนั้นตามกฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้พฤติกรรมตอบสนองคือการเข้าเรียนตรงเวลา สามารถถ่ายโยงไปสู่สถานการณ์อื่นได้ เช่น ผู้เรียนอาจเข้าเรียนในวิชาอื่นที่ครูผู้นี้สอนด้วยก็ได้
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน(Watson)
วัตสัน (Watson) ได้ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กก็จะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดู โดยแม่จะกอดเด็กไว้จากนั้นเด็กก็จะค่อยๆหายกลัวหนูขาว
จาการทดลองดังกล่าว วัตสันสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1. พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2. เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. ในการสร้างพฤติกรรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดขึ้นในผู้เรียนควรพิจารณาสิ่งจูงใจหรือสิ่งเร้าที่เหมาะสมกับภูมิหลังและความต้องการของผู้เรียนมาใช้เป็นสิ่งเร้าควบคู่ไปกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข เช่น ถ้าต้องการให้เด็กตอบคำถามครู ครูควรตั้งคำถามให้เด็กตอบโดยแสดงท่าทางที่ให้ความอบอุ่นและให้กำลังใจแก่เด็ก จะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจในการตอบคำถามและถ้าครูใช้วิธีการนี้ซ้ำๆอย่างสม่ำเสมอ เด็กจะเกิดการเรียนรู้และมีความคงทนในการแสดงพฤติกรม
2. การลบพฤติกรรรมที่ไม่พึงปรารถนา สามารถทำได้โดยหาสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไขมาช่วย เช่น หากผู้เรียนไม่ชอบทำการบ้านคณิตศาสตร์ครูอาจใช้ความเป็นมิตร เป็นกันเอง ให้ความดูแล เอาใจใส่และให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดสิ่งเร้าเหล่านี้ตามธรรมชาติเหล่านี้สามารถช่วยเปลี่ยนพฤติกรรรมได้
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง (Contiguous Condition-ing) ของกัทธรี
กัทธรีได้ทำการทดลองโดยปล่อยแมวที่หิวจัดเข้าไปในกล่องปัญหา มีเสาเล็กๆตรงกลาง มีกระจกที่ประตูทางออก มีปลาแซลมอนวางไว้นอกกล่อง เสาในกล่องเป็นกลไกเปิดประตู แมวบางตัวใช้แบบแผนการกระทำหลายแบบเพื่อจะออกจากกล่อง แมวบางตัวใช้วิธีเดียว กัทธรีอธิบายว่า แมวใช้การกระทำครั้งสุดท้ายที่ประสบผลสำเร็จเป็นแบบแผนยึดไว้สำหรับการแก้ปัญหาครั้งต่อไป และการเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียวก็นับได้ว่าเรียนรู้แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก กฎการเรียนรู้ของกัทธรี สรุปได้ดังนี้
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1. กฎแห่งความต่อเนื่อง(Law of Contiguity)
1. กฎแห่งความต่อเนื่อง(Law of Contiguity)
เมื่อมีกลุ่มสิ่งเร้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากระตุ้นจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น และเมื่อกลุ่มสิ่งเร้าเดิมกลับมาปรากฎอีกอาการเคลื่อนไหวอย่างเก่าก็จะเกิดขึ้นอีก พฤติกรรมที่กระทำซ้ำนั้นไม่ใช่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง แต่เกิดจากการที่กลุ่มสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมแบบเก่านั้นกลับมาอีก
2. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว (One trial learning)สนองออกมา ถ้าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก หรือไม่จำเป็นต้องฝึกซ้ำอีก
3. กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย (Low of Recency ) หากการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว ในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่ง เมื่อมีสภาพการณ์ใหม่เกิดขึ้น บุคคลจะกระทำเหมือนที่เคยได้กระทำในครั้งสุดท้ายที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้นั้นไม่ว่าจะผิดหรือถูกก็ตาม
4. หลักการจูงใจ (Motivation) การเรียนรู้เกิดจาการจูงใจมากกว่าการเสริมแรง
ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. ขณะสอนครูควรสังเกตการกระทำหรือการเคลื่อนไหวของนักเรียนว่ากำลังเกี่ยวพันกับสิ่งเร้าใด ถ้าครูให้สิ่งเร้าที่เกี่ยวพันกับการเคลื่อนไหวนั้นน้อยกว่าก็จะไม่สามารถเปลี่ยนการกระทำของเด็กได้ เช่น ถ้าเด็กกำลังเอะอะวุ่นวายไร้ระเบียบ ครูจะพูดหรือสอนขณะนั้นก็ไม่มีผล ต้องคอยให้เขาสงบเสียก่อน
2. ในการสอน ควรวิเคราะห์งานอกเป็นส่วนย่อยๆ และสอนส่วนย่อยเหล่านั้นให้เด็กสามารถตอบสนองอย่างถูกต้องจริงๆ หรือได้รับการเรียนรู้ที่ถูกต้องในทุกๆหน่วย เช่น การสอนให้นักรเยนกรองสร ต้องวิเคาะห์ว่าการกรองสรจะต้องมีทักษะย่อยๆอะไรบ้าง แต่ละทักษะต่อเนื่องกันอย่างไร และสอนหรือฝึกจนนักเรียนทำได้ถูกต้อง
3. ในการจบบทเรียน ไม่ควรปล่อยให้นักเรียนจบการเรียนโดยได้รับคำตอบผิดๆหรือแสดงอาการตอบสนองผิดๆ เพราะเขาจะเก็บการกระทำครั้งสุดท้ายไว้ในความทรงจำ ใช้เป็นแบบแผนในการทำจนเป็นนิสัย
4. การสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ ในการสอนจึงควรมีการจูงใจผู้เรียน
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ (Operant Condition-ing) ของสกินเนอร์ (Skinner)
สกินเนอร์ (Skinner) ได้ทำการทดลอง ซึ่งสามารถสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1. การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด (จาการทดลองโดยนำหนูที่หิวจัดใส่กล่อง ภายใจมีคานบังคับให้อาหารตกลงไปในกล่องได้ ตอนแรกหนูจะวิ่งชนโน่นชนนี่ เมื่อชนคานจะมีอาหารตกมาให้กิน ทำหลายๆครั้งพบว่าหนูจะกดคานทำให้อาหารตกลงไปได้เร็วขึ้น)
2. การเสริมแรงที่แปรเลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแงที่ตายตัว (จากการทดลองโดยเปรียบเทียบหนูที่หิวจัด 2 ตัว ตัวหนึ่งกดคานจะได้อาหารทุกครั้ง อีกตัวหนึ่งเมื่อกดคาน บางทีก็ได้อาหาร บางทีก็ไม่ได้อาหารแล้วหยุดให้อาหารตัวแรกจะเลิกกดคานทันที ตัวที่ 2 จะยังกดต่อไปอีกนานกว่าตัวแรก )
3. การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว (จากการทดลองโดยนำหนูที่หิวจัดใส่กรงแล้วช็อตด้วยไฟฟ้า หนูจะวิ่งพล่านจนออกมาได้ เมื่อจับหนูใส่เข้าไปใหม่มันจะวิ่งพล่านอีก จำไม่ได้ว่าทางไหนคือทางอออก )
4. การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่ออินทรีย์กระทำพฤติกรรมที่ต้องการ สมารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้ (จาการทดลองโดยสอนให้หนุเล่นบาสเกตบอล เริ่มจาการให้อาหารเมื่อหนูจับลูกบาสเกตบอล จากนั้นเมื่อมันโยนจึงให้อาหารต่อมาเมื่อโยนสูงขึ้นจึงให้อาหาร ในที่สุดต้องโยนเข้าห่วงจึงให้อาหารการทดลองนี้เป็นการกำหนดให้หนูแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการก่อนจึงให้แรงเสริม วิธีนี้สามารถดัดนิสัยหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ )
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. ในการสอนการให้เสริมแรงหลังการตอบสนอง ที่เหมาะสมของเด็กจะช่วยเพิ่มอัตราการตอบสนองที่เหมาะสมนั้น
2. การเว้นระยะการเสริมแรงอย่างไม่เป็นระบบ หรือเปลี่ยนรูปแบบการเสริมแรงจะช่วยให้การตอบสนองของผู้เรียนคงทนถาวร เช่น ถ้าครูชมว่า “ ดี ” ทุกครั้งที่นักเรียนตอบถูกอย่างสม่ำเสมอ นักเรียนจะเห็นความสำคัญของแรงเสริมน้อยลง ครูควรเปลี่ยนแปลงแรงเสริมแบบอื่นบ้าง เช่น ยิ้ม พยักหน้าหรือบางครั้งอาจไม่ให้แรงเสริม
3. การลงโทษที่รุนแรงเกินไปมีผลเสียมาก ผู้เรียนอาจไม่ได้เรียนรู้หรือจำสิ่งที่เรียนได้เลย ควรใช้วีการงดการเสริมแรงเมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่น เมื่อนักเรียนใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ แม้ได้บอกและตักเตือนแล้วก็ยังใช้อีก ครูควรงดการตอบสนองต่อพฤติกรรมนั้น เมื่อไม่มีใครตอบสนอง ผู้เรียนจะหยุดพฤติกรมนั้นในที่สุด
4. หากต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือปลูกฝังนิสัยให้แก่ผู้เรียน การแยกแยะขั้นตอนของปฎิกิริยาตอบสนองออกเป็นลำดับขั้น โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน เช่น หากต้องการปลูกฝังนิสัยในการรักษาความสะอาดห้องปฏิบัติการและเครื่องมือ สิ่งสำคัญประการแรกคือ ต้องนำพฤติกรรมที่ต้องการจำแนกเป็นพฤติกรรมย่อยให้ชัดเจน เช่น การเก็บ การกวาด การเช็ดถู การล้าง การจัดเรียง เป็นต้น ต่อไปจึงพิจารณาแรงเสริมที่จะให้แก่ผู้เรียน เช่น คะแนน คำชมเชย การให้เกียรติ การให้โอกาสแสดงตัว เป็นต้น เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ก็ให้การเสริมแรงที่เหมาะสมในทันที
1.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
ฮัลล์ (Hull) ได้ทำการทดลองโดยฝึกหนูให้กดคาน โดยแบ่งหนูเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มอดอาหาร 24 ชั่วโมงและแต่ละกลุ่มมีแบบแผนในการเสริมแรงแบบตายตัวต่างกัน บางกลุ่มกดคาน 5 ครั้ง จึงได้อาหาร ไปจนถึงกลุ่มที่กด 90 ครั้ง จึงได้อาหารและอีกพวกหนึ่งทดลองแบบเดียวกัน แต่อดอาหารเพียง 3 ชั่วโมง ผลปรากฏว่ายิ่งอดอาหารมากคือมีแรงขับมาก จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเข้มของนิสัย กล่าวคือจะทำให้การเชื่อมโยงระหว่างอวัยวะรับสัมผัส (receptor) กับอวัยวะแสดงออก(effector)เข้มแข็งขึ้น ดังนั้นเมื่อหนูหิวมากจึงมีพฤติกรรมกดคานเร็วขึ้น
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1. กฎแห่งสมรรถภาพในการตอบสนอง (Law of Reactive In Hibition) กล่าวคือถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง
2. กฎแห่งการลำดับกลุ่มนิสัย (Law of Habit Hierachy) เมื่อมีสิ่งเล้ามากระตุ้น แต่ละคนจะมีการตอบสนองต่าง ๆ กัน ในระยะแรกการแสดงออกมีลักษณะง่าย ๆ ต่อเมื่อเรียนรู้มากขึ้น ก็สามารถเลือกแสดงการตอบสนองในระดับที่สูงขึ้นหรือถูกต้องตามมาตรฐานของสังคม
3. กฎแห่งการใกล้บรรลุเป้าหมาย (Goal Gradient Hypothesis) เมื่อผู้เรียนยิ่งใกล้บรรลุเป้าหมายมากเท่าใดจะมีสมรรถภาพในการตอบสนองมากขึ้นเท่านั้น การเสริมแรงที่ให้ในเวลาใกล้เป้าหมายจะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. ในการจัดการเรียนการสอน ควรคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด
2. ผู้เรียนมีระดับของการแสดงออกไม่เท่ากัน ในการจัดการเรียนการสอน ควรให้ทางเลือกที่หลากหลาย เพื่อผู้เรียนจะได้ตอบสนองตามระดับความสามารถของตน
3. การให้เสริมแรงในช่วงที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด จะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
สรุปได้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม คือ มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี – ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ พฤติกรรม มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ มีทฤษฎีที่สำคัญอยู่ 3 กลุ่มคือ
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Classical Connectionism)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
อ้างอิง
แหล่งเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพความเป็นครู. จิตวิทยาการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2554.
ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษ. ทฤษฎีการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2554.
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ
เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น