วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20
1.              ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)
ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 และประยุกต์สู่การสอน สามารถจัดแยกได้  2 กลุ่มดังนี้
1.1      กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน
  จอห์น คาลวิน และคริสเตียน โวล์ฟ นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อเรื่อง
1. มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
2. มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
3. สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
4. การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
5. การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบเบิล เป็นต้น
1.2 กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต และอริสโตเติล นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ
1. พัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ เป็นความสามารถของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
2. มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลวและการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน (neutral - active)
 3. มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำตามความเข้าใจและเหตุผลของตน หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมา
4. มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา

ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่  20 และหลักการจัดการเรียนการสอนไว้ดังนี้ นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method) เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้ กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี (อ้างถึง : http://www.neric-club.com/data.php?menu_id=97&member=free)

(Bigge,1964 : 19 – 30 อ้างถึงในทิศนา แขมมณี 2550 : 45 – 48) ได้กล่าวว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้นนักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
 1.1 กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้1) มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
2) มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
3) สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
4) การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
5) การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบเบิล เป็นต้น
                . หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1) การฝึกสมองหรือการฝึกระเบียบของจิตอย่างเข้มงวด เป็นสิ่งสำคัญในการฝึกให้บุคคลเป็นคนฉลาดและคนดี
2) การฝึกจิตจะต้องทำอย่างเข้มงวด เพื่อให้จิตเข้มแข็ง การบังคับ ลงโทษเป็นสิ่งจำเป็นถ้าผู้เรียนไม่เชื่อฟัง
3) การจัดให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาวิชาที่ยาก ได้แก่ คณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาตินและภาษากรีก จะช่วยฝึกฝนสมองให้เข้มแข็งได้เป็นอย่างดี
4) การจัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาคัมภีร์ใบเบิลและยึดถือในพระเจ้า จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนดี
1.2 กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้1) พัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ เป็นความสามารถของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
2) มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลวและการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน (neutral - active)
3) มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำตามความเข้าใจและเหตุผลของตน หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมา
4) มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา
. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1) การพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คือการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
2) การพัฒนาผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใช้การบังคับ เคี่ยวเข็ญ แต่ควรใช้เหตุผลเพราะมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความสามารถในการใช้เหตุผล
3) การใช้วิธีสอนแบบโสเครตีส (Socratic Method) คือการใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้เห็นกระจ่างชัด เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4) การใช้วิธีสอนแบบบรรยาย (Didactic Method) คือการสอนที่ใช้คำถามฟื้นความจำของผู้เรียนแล้วเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีอีกวิธีหนึ่ง
                สรุปได้ว่าทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง คือ สติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
                แบ่งได้ 2 กลุ่ม ดังนี้
1.1      กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline)
1.2      กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline)

อ้างอิง
แหล่งเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพความเป็นครู. จิตวิทยาการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2554.
         จาก : http://www.sobkroo.com/detail_room_main3.php?nid=3019.    
ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษ. ทฤษฎีการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2554.
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ        
         เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น