4. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
Constructionism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมากจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเพียเจต์ (Piaget) ทฤษฎี Constructionism พัฒนาโดย Seymour Papert แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massacchusetts Institute of Technology)
แนวคิดของทฤษฎีนี้ เชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นด้วยตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียน และจะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย แลตลอดจนสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่นการประดิษฐ์คิดค้นในเรื่องต่างๆ ตามที่สนใจ จะเห็นว่าในปัจจุบันความรู้แบบนี้มีมากมายที่นำมาอำนวยประโยชน์ หรือเพิ่มความสะดวกในการดำเนินชีวิตของคนเรา
รศ.ดร.เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์”ได้กล่าวว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถ ใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
ได้กล่าว่านักจิตวิทยาทั้งในอดีตและปัจจุบันได้หยิบยกเอาเรื่องการเรียนรู้มาทำการศึกษากันอย่างกว้างขวาง มีการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดยการศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ในสถานการณ์ธรรมชาติ และศึกษาการเรียนรู้ในห้องทดลอง รวมทั้งศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่าง ๆ ที่มีต่อการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ทฤษฎีที่สามารถนำมาอธิบายการเรียนรู้และนำไปสร้างสถานการณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ แต่เนื่องจากมุมมองของนักจิตวิทยาในเรื่องการเรียนรู้แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดทฤษฎีการเรียนรู้ขึ้นมาหลายทฤษฎี ซึ่งในแต่ละทฤษฎีจะมีแนวคิดและกระบวนการเรียนรู้แตกต่างกันไป ในที่นี้ขอกล่าวถึง ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพเพอร์ท
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานเป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพีเจต์ ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพเพอร์ท แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
แนวความคิดของทฤษฎีนี้ คือ
การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง และด้วยตนเองของผู้เขียน
ผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและทำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะได้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรม การสร้างความรู้ขึ้นในตนเองจะมีความหมายต่อผู้เรียนจะอยู่คงทน ไม่ลืมง่าย และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดีและเป็นรากฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
(อ้างอิง : cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/233/254/original_pa.doc?...)
สรุปได้ว่าทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
อ้างอิง
Educational Leadership and Innovations. ทฤษฎีการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน
ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษ. ทฤษฎีการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2554.
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ
เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น