วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
นักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของการเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์ รอเจอร์ส โคมส์ แฟร์ อิลลิช และนีล
3.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow,1962)
1. มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น
2. มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
3.2 ทฤษฎีการเรียนรูของรอเจอร์ส (Rogers,1969)
1. การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น และปลอดภัย
2. ผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองอยู่แล้ว
3. ในการจัดการเรียนการสอนควรเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ
3.3 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ (Combs)
ความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
3.4 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์(Knowles)
1. ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน อยู่ในความควบคุมของผู้เรียนแต่ละคน ผู้เรียนจะนำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะและค่านิยมต่างๆเข้ามาสู่การเรียนรู้ของตน
3. มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการและด้วยวิธีการที่ตนพอใจ
4. มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน ความเป็นเอกัตบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มนุษย์ควรได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาความเป็นเอกัตบุคคลของตน
5. มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ และเลือกกระทำสิ่งต่างๆตามที่ตนพอใจ และรับผิดชอบในผลของการกระทำนั้น
3.5 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ (Faire)
เปาโล แฟร์ เชื่อในทฤษฎีของผู้ถูกกดขี่ ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจาการขดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า
3.6 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอลิส (Illich)
อิวาน อิลลิช ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นตามธรรมชาติ
3.7 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล (Neil)
นีล กล่าวว่า มนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติหากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น
มีอิสรภาพและเสรีภาพมนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดี

รศ.ดร.เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์ ได้กล่าวถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่  20 และหลักการจัดการเรียนการสอนไว้ดังนี้
นักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณ ค่า มีความดีงาม
มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี 2 ทฤษฏีและ 5 แนวคิด คือ
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของ ผู้เรียน และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด ประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน และการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วย เหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ เชื่อ ว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้ เรียน หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นถึงความรู้สึกของผู้เรียนเป็น หลัก การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ได้ดี
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์ เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอน

(พรรณี ช. เจนจิต 2538: 438-439) ได้เสนอแนวคิดใหม่ เรียกว่า Third Force Psychology ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานว่า ถ้าให้อืสรภาพแก่เด็กเด็กจะเลือกสิ่งทีดีสำหรับตนเอง พ่อแม่และครูได้รับการกระตุ้นให้มีความไว้วางใจในตัวเด็กและควรเปิดโอกาสและช่วยให้เด็กเจริญเติบโตต่อไป ไม่ใช่ใช้วิธีการควบคุมและบงการชีวิตของเด็กทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ

สรุปได้ว่า แนวความคิดของกลุ่มมนุษย์นิยมที่เกี่ยวกับการศึกษา  คือ นักเรียนควรจะได้รับความช่วยเหลือให้มีความเข้าใจในตนเอง  มีจุดยืนเป็นของตนเองอย่างชัดเจนว่า ตนเองมีความต้องการสิ่งใดแน่และมีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร  เพราะในปัจจุบันมีสิ่งที่เด็กจะต้องตัดสินใจเลือกมากมาย  คนที่มีจุดยืนที่แน่นอนเท่านั้นจึงจะสามารถเลือกสิ่งที่มีความหมายและก่อให้เกิดความพึงพอใจให้กับตนเองให้ดีที่สุด  นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเห็นตรงกันว่า เด็กควรได้รับความช่วย เหลือจากครูในทุกด้านไม่ใช่เฉพาะการได้รับความรู้  หรือการมีความเฉลียวฉลาดเพียงอย่างเดียว แต่ควรได้รับความช่วยเหลือให้รู้จักศึกษาและสำรวจเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก และทำความเข้าใจเกี่ยว กับความรู้สึกนึกคิด  เจตคติ  และจุดมุ่งหมายความต้องการของตนเอง

อ้างอิง
Engfanatic Culb.ทฤษฎีการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2554.
         จาก : http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1.  
ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษ. ทฤษฎีการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2554.
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ
         เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น